ประวัติบ้านรามราช


 ภูมิหลังและประวัติของชุมชน

เมืองลำถิ่นภูไท     ทิวทัศน์ฝายห้วยมุเค
ประเพณีฟ้อนผีหมอ            ดอนหอเจ้าพ่อปู่ตา
วัดป่ารอยพระบาท              เมืองพุทธศาสน์พาร่มเย็น
๑.ถิ่นฐานเดิมและสภาพของบ้านเมืองในอดีต
            บรรพชนของชาวบ้านรามราชเป็นชนชาติลาวเผ่าภูไท (ผู้ไท) มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองเชียงฮม อาณาจักรเวียงจันทร์ล้านช้าง (ลาว)
            เมืองเชียงฮมในยุคนั้น  เป็นเมืองเล็กๆ  ตั้งอยู่โดดเดี่ยวกลางป่าเขาที่ทุรกันดารไม่มีถนนหนทางติดกับบ้านเมืองอื่นที่อยู่ใกล้ชิดติดกัน   เช่น  เมืองผาบัง  เมืองวังและเมืองคำ  เป็นต้น การเดินทางต้องเดินด้วยเท้า (ใช้วัวต่างหรือเกวียนเทียมวัวบรรทุกสินค้าหรือสิ่งของ) ไปตามทางเดินของสัตว์ป่า  ข้ามภูเขาไปตามป่าดงดิบและใช้เวลาในการเดินทางข้ามวันข้ามคืน  ต้องพักค้างแรมกลางป่าดงห่างไกลบ้านผู้คน  เสียงอันตรายจากสัตว์ป่า โจรผู้ร้ายปล้นสดมภ์และอาถรรพน์ของป่านานาชนิด
             ด้วยเหตุนี้  ลูกหลานชาวเมืองเชียงฮมจึงรู้จัก  คุ้นเคยและมีสัมพันธ์รักกับหนุ่มสาวชาวเมืองอื่นน้อยมาก  จะผูกสมัครรักใคร่และแต่งงานระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาวเมืองเชียงฮมด้วยกันเอง  เมื่อแต่งงานมีครอบครัวแยกออกไปอยู่ต่างหาก  จะปลูกสร้างบ้านเรือนใกล้บ้านของพ่อแม่  ไม่มีใครออกไปสร้างบ้านเรือนอยู่นอกเขตเมืองเพราะไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  จากสัตว์ป่าที่ดุร้ายและโจรผู้ร้าย  ทำให้บ้านเรือนของราษฎรภายในเมืองหนาแน่นแออัดมากขึ้นเรื่อยๆตามจำนวนครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ
ชาวเมืองเชียงฮมกลุ่มซึ่งมี  “ท้าวนิ” เป็นหัวหน้า  ต้องการหลบหนีจากความแออัดภายในเมือง  จึงรวมตัวกันย้ายบ้านออกไปสร้างอยู่ต่างหากนอกเขตเมืองบนพื้นที่ซึ่งเป็นที่ดอนชาวเมืองเรียกบริเวณนั้นว่า “ดอนนาเมืองฮาม” แต่ยังอยู่ในปกครองของกรมการเมืองเชียงฮมตามเดิม  ชาวบ้านเมืองเชียง ฮมกลุ่มนี้เอง คือ “บรรพชนของชาวรามราช”
                ปัจจุบัน  เมืองเชียงฮมยังยังมีประชาชนที่อาศัยอยู่  มีสภาพไม่แตกต่างจากอดีตมากนัก  อยู่ในเขตปกครองแขวงสุวรรณเขต  สาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว)  มีถนนหมายเลข  9 สายเมืองสุวรรณเขต สปป.ลาว-เมืองเว้ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามผ่านเมืองเชียงฮม  และมีรถยนต์โดยสารวิ่งประจำ
๒.สาเหตุการอพยพย้ายถิ่นฐาน
               พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์   ผู้ครองนครเวียงจันทร์ตั้งตนเป็นอิสระ  ไม่ยอมสวามิภักดิ์ต่อไทย  ยกกองทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมากวาดต้อนครอบครัวชาวนครราชสีมาไปถึงทุ่งสำริด  ท่านผู้หญิงโมรวบรวมกำลังทั้งชายและหญิงเข้าต่อสู้กับทหาร  เจ้าอนุวงศ์ถึงขั้นตะลุมบอล  ทหารของเจ้าอนุวงศ์ถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก  เจ้าอนุวงศ์ถอยทับกลับนครเวียงจันทร์  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี  (สิงห์) เป็นแม่ทัพยกกองทัพไทยขึ้นไปปราบ  กองทัพไทยยึดนครเวียงจันทร์ได้  เจ้าอนุวงศ์เสด็จหนีไปพึ่งญวน  หัวเมืองต่างๆในอาณาจักรเวียงจันทร์(ลาว)จึงตกอยู่ใต้อำนาจของญวน  แต่กรมการเมืองและชาวเมืองไม่สมัครใจที่จะอยู่ในอำนาจการปกครองของญวน  เพราะลาวกับญวนไม่ใช่ชนเชื้อชาติเดียวกันมีภาษาและวัฒนธรรมต่างกัน  จึงพยายามหาโอกาสหนีเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภารแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยตลอดเวลา
             พ.ศ. 2373 เจ้าอนุวงศ์นำกองทับญวนมายึดนครเวียงจันทร์คืน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯจึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์) เป็นแม่ทัพยกกองทัพไทยขึ้นไปปราบอีกครั้งหนึ่ง  กองทัพไทยสามารถตีกองทัพญวนจนแตกพ่ายและยึดนครเวียงจันทร์ได้  ความบาดหมางระหว่างไทยกับญวนได้เริ่มขึ้นตั้งแต่บัดนั้น
             ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ได้เสด็จหนีไปประทับอยู่กับเจ้าน้อยเมืองพวน  ราชบุตรเขยของพระองค์  ต่อมาเจ้าน้อยเมืองพวนหวั่นกลัวกองทัพไทยฐานให้ที่พักพิงแก่เจ้าอนุวงศ์  จึงจับเจ้าอนุวงศ์มามอบให้แก่ทัพไทย  เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์) คุมตัวเจ้าอนุวงศ์ลงมายังกรุงเทพฯ  เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายแด่สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ แต่เจ้าอนุวงศ์ลงพระโลหิต(ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด)  ถึงแก่พิราลัย(ตาย) ในระหว่างทางเจ้าพระยาราชสุภาวดีมีความดีความชอบ  ได้รับพระราชทานเลื่อนพระอิสริยยศเป็น “เจ้าพระยาบดินทร์เดชา”
           พ.ศ. 2376  พระเจ้าแผ่นดินญวนได้ส่งกองทัพไปยึดหัวเมืองต่างๆของเขมรและลาวทางตอนใต้  เพื่อขยายอิทธิพลและแสดงให้เห็นว่า  ญวนมีความเข้มแข็งมีหลายครั้งที่ลุกล้ำเข้ามารบกวนราษฎรไทยในหัวเมืองทางอีสานตอนล่างพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ  จึงได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา  เป็นแม่ทัพยกกองทัพไทยไปรบกับญวนที่เมืองเขมรและเมืองไซ่ง่อน  เพื่อตัดกำลังของญวนมิให้มีอิทธิพลเหนือลาวและเขมร  ญวนได้ต่อสู้ป้องกันเมืองและรักษาอำนาจไว้อย่างเข้มแข็ง  ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ  ผลัดกันรุกผลัดกันถอย  ทำให้ศึกสงครามระหว่างกองทัพไทยกับญวนยืดเยื้อเป็นเวลานานถึงปี พ.ศ.2390 สงครามระหว่างกองทัพไทยญวนจึงได้ยุติเลิกลาโดยการทำสัญญาสงบศึกระหว่างกัน
            ในระหว่างที่ญวนมีศึกสงครามรบพุ่งอยู่กับไทยนั้น  ราษฎรลาวในหัวเมืองทางตอนใต้ได้รับความเดือดร้อนระส่ำระส่าย  เพราะถูกญวนกดขี่ข่มเหงกะเกณฑ์เอาไพร่พลและเสบียงอาหารเพื่อสะสมเป็นกำลังไว้ต่อสู้กับกองทัพไทย  จับเอาบุคลสำคัญและสาวชาวลาวไปไว้ที่เมืองญวนเป็นตัวประกัน  ป้องกันมิให้ลาวแข็งข้อ  ใครขัดขืนก็กำจัดเสียราษฎรลาวในหัวเมืองที่ได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำของญวนพากันทิ้งบ้านเรือนอพยพหลบหนีไปคนละทิศคนละทาง
๓.หนีร้อนมาพึ่งเย็นและสร้างเมืองฮาม
             ชาวเมืองเชียงฮมบางส่วนและที่อยู่ที่ดอนนาเมืองฮามทั้งหมด  ประมาณ 458 คนมีท้าวบัวเป็นหัวหน้า(ตามจดหมายเหตุตำนานเมืองท่าอุเทน)  ได้อพยพหนีไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงแม่น้ำท่าแขก  แล้วลงเรือข้ามแม่น้ำโขงข้ามมายังฝังไทย  ขึ้นที่เมืองยโสธรนครพนม  (เมืองนครพนมในปัจจุบัน)
           มอบตัวสวามิภักดิ์ต่อเจ้าพระยาสุนทรราชวงศ์ษา  เจ้าเมืองยโสธรนครพนม ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทย  เจ้าเมืองยโสธรนครพนม  ให้ไป  สร้างเมืองอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองยโสธรนครพนมให้ชื่อเมืองว่า “เมืองฮาม”  แล้วแต่งตั้ง ให้ท้าวบัวเป็น เจ้าเมืองขึ้นต่อเมืองยโสธรนครพนม
 หมายเหตุ
              “ท้าวบัว”เป็นบุตรของ “ท้าวนิ”  ผู้เป็นหัวหน้า นำชาวเมืองเชียงฮมกลุ่มหนึ่ง  ออกไปสร้างบ้านเรือนอยู่ที่ “ดอนนาเมืองฮาม”
       “เมืองฮาม” ปัจจุบันอยู่ในเขตพื้นที่บ้านยอดชาติ  อำเภอปลาปาก  จังหวัดนครพนม  ในอดีตชาวบ้านขุดโค่นพื้นดินบริเวณนี้  มีผู้ขุดพบโอ่ง  ไห  ภายในปัจจุบันสิ่งของต่างๆแต่ไม่มีใครเก็บเอาไว้  เพราะถือว่าเป็นของมีเจ้าของ  และกลัวอาถรรพ์บางคนใช้จอบทุบแตกแล้วฝังดินไว้ตามเดิมหรือทิ้งกองไว้ตามสุ่มพุ่มไม้   เพราะมองไม่เห็นคุณค่าของโบราณวัตถุ  เข้าใจว่าตอนย้ายไปอยู่ที่แห่งใหม่  เจ้าของไม่สามารถจะนำเอาของเหล่านี้ไปด้วยได้  จึงทำการฝังดินไว้  ตั้งใจจะมาขุดเอาภายหลัง  แต่แล้วก็ไม่ได้กลับมาขุดขนเอาไป
๔. อพยพย้ายมาสร้างเมืองลำ
                เมืองฮามตั้งอยู่พื้นที่กันดาร  การเพาะปลูกได้ผลผลิตน้อยการทำมาหากินฝืดเคือง  แต่ต้องจำยอมทนอยู่เรื่อยมา  จนกระทั่งคราวหนึ่ง  ท้าวบัว  เจ้าเมืองและคณะจำนวนหนึ่งได้ออกเที่ยวป่า  ล่าสัตว์และหาของป่า  มาถึงบริเวณหนองขุ่นหรือบุ่งเค็มเห็นพื้นที่มีทำเลดี  อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้และแหล่งน้ำ  มีลำธารสายหนึ่ง  (ห้วยมุเค)  ซึ่งมีน้ำตลอดปีไหลผ่าน  ในป่าไม่มีสัตว์ป่านานาชนิดมากมาย  ในน้ำมีสัตว์น้ำ ปลา ปู กุ้ง หอย กบและเขียดชุกชุม  และอยู่ไม่ห่างไกลจากเมืองยโสธรนครพนมมากนัก   จึงกลับนำบ่าวไพร่ราษฎรอพยพย้ายมาสร้างบ้านเมือง  ณ  ที่แห่งนี้  แล้วแจ้งให้เจ้าเมือง ยโสธรนครพนมทราบ  เจ้าเมืองยโสธรนครพนมได้ตั้งชื่อเมืองให้ไหม่ว่า “ เมืองลำ” แต่แล้วชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า “บ้านนาซาวหนองขุ่น”  ท้าวบัวได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองขึ้นตรงต่อเมืองยโสธรนครพนมตามเดิม
หมายเหตุ
“เมืองลำ” ในอดีต ปัจจุบันพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นทุ่งนา  อีกส่วนหนึ่งเป็นบริเวณป่าไม้ดอนหอปู่ตา
ติดถนน รพช.  ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  และอยู่ฝั่งขวาของลำห้วยมุเคด้านทิศใต้   คนละฟากฝั่งกับหมู่บ้านรามราช
“ นาซ่าว”คือพื้นที่ที่ชาวบ้านหักร้างถางป่าแล้วเผาให้เตียน  ขุดโค่นพื้นที่ปลูกข้าวใหม่ๆ ยังมีตอไม้ระเกระระกะอยู่ทั่วไป  มีสภาพเป็นทุ่งนายังไม่สมบูรณ์นัก
“ห้วยมุเค” เดิมชื่อ “ห้วยหมูขาเค” มีเรื่องเล่าว่าในคราวที่ท้าวบัวและคณะมาถึงบริเวณนั้น  พบหมูป่าขาเคตัวหนึ่ง ตื่นตกใจที่เห็นคนเข้ามาใกล้  จึงวิ่งขาเยกๆ ลงไปลำห้วยแล้วว่ายข้ามน้ำไปยังฝั้งตรงข้าม  ถึงฝั้งแล้วจึงวิ่งขาเขยกๆ เข้าป่าลับหายไป  ท้าวบัวและคณะจึงเรียกลำห้วยนั้นว่า “ห้วยหมูขาเค”  ชาวบ้านก็เรียกตาม  ต่อมาได้เรียกสั้น ๆกร่อนเข้าเป็น “ห้วยหมูเค”  เวลาผ่านไปคนรุ่นหลังได้เรียกเพี้ยนไปเป็น “ห้วยมุเค”
๕.บ้านเมืองพี่น้อง
ชาวเมืองฮามกลุ่มหนึ่งยังคิดถึงเมืองเชียงฮมถิ่นฐานเดิมอยู่   ได้แยกอพยพข้ามแม่น้ำโขงไปยังฝั่งลาว ตั้งใจจะกลับเมืองเชียงฮม แต่ทราบข่าวว่า  เมืองเชียงฮมยังอยู่ใต้อำนาจอิทธิพลของญวนอยู่  จึงกลับใจไม่กลับเมืองเชียงฮม  ได้ไปตั้งบ้านเมืองอย่าทงทิศตะวันออกของเมืองท่าแขก  ให้ชื่อว่า “ เมืองลำ” เช่นกัน
ปัจจุบันเมืองลำทางฝั่งลาวเป็นหมู่บ้านหนึ่งในเขตปกครองของแขวงคำม่วน สปป.ลาว  อยู่ตรงข้ามบ้านเมืองเก่าบ้านบ้านท่าค้นของไทย  ห่างจากแม่น้ำโขงลึกเข้าไปประมาณ 10 กิโลเมตร   เรียกว่า    “ บ้านลามมะลาด” ออกเสียงเหมือน “ บ้านรามราช”ของไทย แต่เขียนสระต่างกัน เพราะเขียนตามภาษานิยมของลาว  ( ลาวไม่มีพยัญชนะ “ ร ” ใช้  )

๖.ความสัมพันธ์ระหว่างบ้านพี่เมืองน้อง
ชาวบ้านรามราช ( ไทย )  ชาวบ้านลามมะลาด  (สปป.ลาว)    และชาวเมืองเชียงฮมเป็นเผ่าภูไท (ผู้ไท )พูดสำเนียงภูไทสืบเชื้อสายมาจากบรรพชนเมืองเชียงฮมตระกูลเดียวกัน (ยกเว้นชาวรามราชที่มีนามสกุล  “ แก้วนิวงศ์” พวกนี้สืบเชื้อสายมาจากต้นตระกูลชาวเมืองผาบัง ) มีขนบธรรมเนียม  จารีตประเพณีอย่างเดียวกันนับถือผีปู่ตาตนเดียวกัน  มีการเลี้ยงเซ่นไหว้ทำพิธีอัญเชิญเจ้าปู่ตามารับของเซ่นไหว้  ประจำปีเหมือน ๆ กัน
ชาวบ้านแต่ละแห่งจะมีพิธีเลี้ยงเซ่นไหว้ครั้งใหญ่ทุกสามปี  แต่ละปีจัดพิธีเซ่นไหว้แต่ละชุมชนจะไม่ตรงกัน  คือ ชาวเมืองเชียงฮมหนึ่งปี ปีถัดมาเป็นวาระของชาวบ้านรามราช  และปีต่อไปเป็นวาระของชาวบ้านลามมะลาด(สปป.ลาว) หมุนเวียนกัยจัดเช่นนี้ตลอดมา  โดยไม่มีการนัดหมาย  ต่างก็รู้กันเองเมื่อถึงวาระของตนเรียกว่า“สองปีฮาม สามปีเลี้ยง”
นอกจากนี้  ประชาชนในบ้านเมืองทั้งสองฝั่งโขงต่างนับถือกันว่าเป็นบ้านพี่เมืองน้อง   มีความสัมพันธ์กันใกล้ชิด  ประชาชนได้ไปมาหาสู่เยี่ยมเยีอนกันเป็นประจำเรื่อยมา แต่หลังจากที่ลาวได้เปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไปสู่ระบบคอมมิวนิสต์สังคมนิยม  ความสัมพันธ์ระหว่างบ้านพี่เมืองน้องของประชาชนทั้งสองฝั่งโขงค่อนข้างจะเหินห่างกันไป  ไม่สนิทแน่นแฟ้นเหมือนแต่ก่อน  แต่ความรู้สึกผูกพันธ์กันในความเป็นพี่น้องกันยังคงมีอยู่มิเสื่อมคลาย
๗.สร้างบ้านครองเมืองคุ้มเหย้า
เมืองลำทางฝั่งไทยตั้งอยู่บนพื้นที่ลุ่ม เมื่อถึงฤดูฝน น้ำจากลำห้วยมุเคได้ไหลบ่าท่วนบริเวณบ้านเรือนของราษฎรเกือบทุกปี  ราษฎรได้รับความลำบาก ท้าวบัวจึงไดนำราษฎรย้ายบ้านเรือนข้ามห้วยมุเคมาสร้างบ้านเรือนบนพื้นที่ซึ่งเป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง  ชาวบ้านเรียกพื้นที่บริเวณนั้นว่า“โคกจั๊กจั่น” (บริเวณหมู่บ้านรามราชในปัจจุบัน แล้วแจ้งให้เจ้าเมืองยโสธรนครพนมทราบ)  เจ้าเมืองยโสธรนครพนมได้พิจารณาเห็นว่าเมืองลำที่ย้ายมาสร้างใหม่  เป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีจำนวนราษฎรมากขึ้น
บ้านเรือนของราษฎรสร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง มีความถาวรมั่นคงและแข็งแรง  อยู่รวมกันเป็นชุมชนอุ่นหนาฝาคั่งประกอบกับท้าวบัว เจ้าเมืองมีความเข้มแข็ง  สามารถนำราษฎรสร้างบ้านเมืองเป็นปึกแผ่น และปกครองราษฎรให้สงบเรียบร้อยดี จึงมีใบบอกแจ้งไปยังกรุงเทพมหานครเพื่อนำความขึ้นถวามบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯได้ทรงพระกรุณาให้มีท้องตราฯ  โปรดเกล้าให้เปลี่ยนชื่อเมืองลำเป็น “เมืองรามราช”และทรงกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ท้าวบัวเป็น “พระอุทัยประกาศ” ปกครองเมืองรามราชขึ้นตรงต่อเมืองยโสธรนครพนมต่อไปตามเดิม มีกรรมการเมืองประกอบด้วย
- ท้าวคำผาล   เป็นอุปฮาด
- ท้าวบุญตั้ง   เป็นราชวงศ์
- ท้าวผูย         เป็นราชบุตร
ต่อมา  ชาวเมืองผาบังกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นชนชาติภูไท (ผู้ไท ) เหมือนกันมีท้าวแก้วเป็นหัวหน้า  กำลังอยู่ในระหว่างอพยพหลบภัยและหาทำเลที่ตั้งบ้านเรือน  ยังไมได้สร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยเป็นหลักฐานแน่นอนได้ทราบข่าวว่า  ชาวเมืองเชียงฮมกลุ่มหนึ่งได้สร้างบ้านรามราช  มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เย็นเป็นสุขดี   จึงอพยพข้ามแม่น้ำโขงมาขออาศัยอยู่ด้วย  ได้รับการต้อนรับจากชาวรามราชด้วยดีฉันท์ญาติสนิทที่หนีร้อนมาพึ่งเย็น  จึงสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยรวมกันตั้งแต่นั้นมา
ชาวเมืองผาบังที่อพยพเข้ามาอยู่ภายหลังกลุ่มนี้  ทางการปกครองถือว่าเป็นชนชั้นบ่าวไพร่ (ราษฎรสามัญธรรมดา)  มีหน้าที่ทำงานรับใช้ราชการงานเมือง  โดยจัดเวรหมุนเวียนการทำงานให้ส่วนรวมเป็นคราวๆ เช่น สร้างวัด สร้างศาลา สร้างถนน ขุดบ่อน้ำ ขุดลอกห้วยหนอง เป็นต้น ใครไม่ต้องการทำงานเมื่อถึงเวรของตน  จะต้องไปล่าสัตว์หรือหาของป่า  ได้เนื้อสัตว์  หนังสัตว์ เขาสัตว์ ยาสมุนไพร ไม้จันทร์   ครั่ง น้ำมันยาง ชัน (ขี้ซี)  เป็นต้น  นำมามอบให้เจ้าเมืองแทนการใช้แรงงาน  เจ้าเมืองจะรวบรวมของที่ได้ส่วนหนึ่งเป็นบรรณการไปมอบให้เจ้าเมืองยโสธรนครพนมอีกต่อหนึ่ง
เมื่อราษฎรกลุ่มนี้ถึงแก่กรรมจะนำศพไปประกอบพิธีฝัง(ไม่เผา)ตามประเพณีและความเชื่อของชาวเมืองผาบัง  ซึ่งมีความเชื่อว่า “คนเราเมื่อตายไปแล้วจะเกิดอีกและนำร่างเป็นตัวตนไปเกิดด้วย ถ้านำศพไปเผาเสียแล้ว วิญญาณไม่มีร่างนำไปเกิดจะไม่ได้เกิดเป็นคนอีก ต้องเป็นผีสิงสถิตย์อยู่ในที่ต่างๆ ตลอดไป”
ปัจจุบันการฝังศพของคนกลุ่มนี้ ได้ยกเลิกไปนานแล้ว เมื่อมีคนตายจะนำไปประกอบพิธีฌาปนกิจ (เผา)     ตามประเพณีทางศาสนาเช่นเดียวกันหมด
พ.ศ.2381 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ได้มีท้องตราโปรดเกล้าฯได้ทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล  พุทธศักราช 2456 ให้คนไทยทุกคนมีนามสกุลใช้ประจำตระกูล  ชาวบ้านรามราชที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพชนที่อพยพย้ายมาจากเมืองเชียงฮมทั้งหมด  ให้มีนามสกุลว่า “นิวงษา”ตามชื่อ “ท้าวนิ” ผู้เป็นบิดาของพระอุทัยประกาศ (บัว) เจ้าเมืองรามราชคนแรก ส่วนพวกที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพชนที่อพยพย้ายมาจากเมืองผาบังทั้งหมดให้มีนามสกุลว่า “แก้วนิวงศ์” ตามเชื้อท้าวแก้วผู้เป็นหัวหน้านำบรรพชนย้ายมาจากเมืองผาบังและชื่อท้าวนิ บิดาของพระอุทัยประกาศ(บัว) ชาวบ้านรามราชจึงเป็น “เชื้อเจ้าเมืองแนวหน่อพ่อพระยา”ด้วยประการฉะนี้
๘.รามราชจากอดีต(ตั้งแต่ พ.ศ2457)จนถึงปัจจุบัน
พ.ศ24457 พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้า ใด้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 เปลี่ยนระบบการปกครองหัวเมืองจากมนทนเทศาภิบาล  เป็นการจัดการโดยการจัดการส่วนภูมิภาค แยกเป้นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอและจังหวัด ใด้ยุบเมืองรามราชเป็นตำบล  เรียกว่า  ตำบลรามราช มีหมู่บ้านในเขตปกครอง จำนวน 21 หมู่บ้าน (ต่อมาใด้แยกหมู่บ้านส่วนหนึ่งจำนวน 8 หมู่บ้านออกไปจัดตั้งเป็นตำบลเวินพระบาท มีผู้ใด้รับ แต่งตั้งและรับตำแหน่ง “เป็นผู้ใหญ่บ้าน”ของหมู่บ้านรามราชใดแยกการปกครองบ้านรามราชออกเป็น 4 หมู่บ้าน คือ  หมู่ที่ 1 หมู่ที่2 หมู่ที่ 14 และหมู่ที่ 17 ดังนี้
 กำนันคนที่ 1 พระยาไชยกุมาร (กลม นิวงษา)
เจ้าเมืองคนสุดท้าย ตั้งบ้านเรือนอยู่หมู่ที่ 1 เมื่อทางราชการยุบเมืองรามราชเป็นตำบล ใด้แต่งตั้งให้เป็นกำนันต่อไป แต่รำรงตำแหน่งไม่นานก็ลาออก เนื่องจากมีอายุมากเข้าสู่วัยชรา สุขภาพร่างกายไม่ดีไม่สามารถปกครองดูแลราษฎรใด้ทั่วถึงทุกหมู่บ้านในขณะนั้น มัผู้ใด้รับเลือกตั้งให้รำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่2 คือ
              นายบัวลอย    นิวงษา
กำนันคนที่ 2 ขุนรัตน์รามราช (สมสี นิวงษา)
  ตั้งบ้านเรือนอยู่หมู่ที่ 1 ขณะนั้น มีผู้ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2คือ
1.นายบัวลอย    นิวงษา     ใด้รับแต่งตั้งสมัยพระยาไชกุมารเป็นกำนัน
2.นายแพงดี      นิวงษา
กำนันคนที่ 3 นายบน นิวงษา
         ตั้งบ้านเรือนอยู่หมู่ที 2 เดิมเป็นครูบ้านรามราชวิทยา เมื่อดีรับแต่งตั้งเป็นกำนันจึงควบทั้ง 2 ตำแหน่ง ต่อมาใด้ลาออกจากครู ทำหน้าที่เป็นกำนันเพียงตำแหน่งเดียว ทางหมู่บ้านหมู่ที่ 1 มีผู้ใด้รับการเลือกตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 คือ
1.นายคำสอน     นิวงษา
2.นายอ่อนสี       นิวงษา
กำนันคนที่ 4 นายรอด นิวงษา
ไปมีครอบครัวตั้งบ้านเรือนอยู่ หมู่ที่ 7 บ้านสะพัง ทางหมู่บ้านรามราช จึงมีผู้ใหญ่บ้านปกครองตลอดเวลาที่ท่านเป็นกำนันคือ   ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1
1.นายคำสอน   นิวงษา   (ได้รับเลือกตั้งมาก่อน)
2.นายอ่อนสี   นิวงษา
3.นายสูรย์     นนทะวงศ์  (ได้รับการเลือกตั้งมาก่อน)
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2
1.นายกำพร้า     นิวงษา
2.นายภู       ไตรมีแสง
กำนันผู้ใหญ่บ้านคนที่ 5 นายคำสูรย์ นนทะวงศ์
ตั้งบ้านเรือนอยู่หมู่ที่ 1 ทางหมู่ที่ 2 มีผู้ใด้รับเลือกตั้งตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2คือ
1.นายภู    ไตรมีแสง
2.นายพล    ชฎา
กำนันคนที่ 6 นายแหวนคำ นิวงษา
ตั้งบ้านเรือนอยุ่หมู่ที่ 1 ทางหมู่บ้านที่ 2 จึงใด้รับเลือกตั้งดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 คือ
1.นายพล ชฎา (ใด้รับการเลือกตั้งมาก่อน)
2.นายเกื้อ ภูชุม (รับการเลือกตั้งมาก่อน)
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ใด้แยกการปกครองหมู่บ้านรามราช หมู่ที่ 2 ออกเป็นหมู่ที่   14 มีผู้ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ไหญ่บ้านหมู่ที่ 14 คือ
1.นายคำใบ นิวงษา
2.นายเหวย ชฎา
  และการแยกปกครองหมู่บ้านรามราช หมู่ที่ 1 ออกไปหมู่ที่ 17 มีผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ไหญ่บ้านหมู่ที่ 17 คือ   นายไข นิวงษา

กำนันคนที่ 7 นายเกื้อ ภูชุม
            กำนันคนปัจจุบัน  (ปี พ.ศ. 2546 ) ตั้งบ้านเรือนและที่มีทำการกำนันอยู่ที่ หมู่ที่ 2 ส่วนหมู่ที่1 หมู่ที่ 14 และหมู่ที่ 17 มีผู้ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านในปัจจุบันคือ
              ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 นายไพโรจน์    ภูชม    ( ได้รับเลือกตั้งเมื่อปี 2546 )
              ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 14 นายเหวย     ชฎา      ( ได้รับเลือกตั้งเมื่อปี2546 )
              ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 17 นายคำหวา    นิวงษา    ( ได้รับเลือกตั้งเมื่อปี 2546 )
             ๙.เอกลักษณ์ของภูไท ( ผู้ไท ) รามราช
              ลักษณะทางกายภาพ
      ภูไท  (ผู้ไท ) รามราชมีรูปร่างลักษณะและหน้าตาเช่นเดียวกับชนชาติไทยและชนชาติชาวทั่วไป ส่วนมากผิวกายละเอียด  ไม่หยาบกร้าน สีผิวเหลือง รูปทรงสมส่สนหน้าตาดี หญิงสาวภูไท (ผู้ไท ) รามราชมีความสวยงามและมีเสน่ห์ไม่แพ้หญิงสาวภูไท (ผู้ไท ) ในถิ่นอื่น
               สำเนียงภาษา
ภูไท  (ผู้ไท ) รามราชพูดสำเนียงภูไท (ผู้ไท ) แต่พูดเร็วและห้วน ไม่อ่อนหวานนุ่มนวล เหมือนสำเนียงพูดของภูไท(ผู้ไท ) ทางเรณูนคร พูดออกเสียงสระมีผิดแปลกจากชนเผ่าอื่น คือ
- สระใอ ออกเสียงเป็น เออ เช่น ใต้ เป็น เต้อ , ใจ เป็น เจอ , ใหม่ เป็น เหม่อ , ใบ เป็น เบอ
- สระเอือ ออกเสียงเป็น เออ เช่น เสือ เป็น เสอ , เหนือ เป็น เหนอ , เบื่อ เป็น เบ่อ ,เขือ เป็น เขอ
- สระ อัว ออกเสียงเป็น โอ เช่น ผัว เป็น โผ, ตัว เป็น โต ,หัวเป็น โห , มัว เป็น โม
- สระ เอีย ออกเสียงเป็น เอ เช่น เมีย เป็น เม, เสีย เป็น เส ,เลีย เป็น เล ,เตี้ย เป็น เต้


    การแต่งกาย
ภูไท (ผู้ไท ) รามราชรุ่นปู่ย่า ตายาย  ผู้ชายนุ่งกางเกงสาสามส่วนไม่มีรัดเอวหรือนุ่งโสร่งผ้าไหม  เหน็บชายพก สวมเสื้อคอกลมไม่ผ่าอกหรือผ่าอกติดกระดุมนิยมสักลายที่ขาและเอว  ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ต่อตีนจก คาดเข็มขัดเงินหรือนาคสวมเสื้อทรงกะบอกรัดรูป แขนยาวคอกลม ผ่าอกติดกระดุม  เกล้าผมมวย เสื้อผ้าทำจากผ้าฝ้ายทอด้วยมือ สีที่นิยมใช้คือ สีดำย้อมคราม ขริบริมที่แขนและตัวเสื้อด้วยแถบสีแดงผู้หญิงสูงอายาเวลาอยู่บ้านชอบใส่ผ้าคาดอกแทนการสวมเสื้อหรือสวมเสื้อคอกระเช้าหลากสี
แต่คนรามราชยุคใหม่ในปัจบันได้ยกเลิกการแต่งกายแบบเก่า  หันมาแต่งกายด้วยเสื้อผ้าตามสมัยนิยมกันหมดแล้ว
             ขนบธรรมเนียมประเพณี   จารีตประเพณี
             ภูไท (ผู้ไท ) รามราชนับถือพระพุทธศาสนา  ยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนของพุทธเจ้า ชอบเข้าวัดทำบุญ  ปฏิบัติธรรมและจัดกิจกรรมต่างๆแต่ละหมู่บ้านมีวัดประจำหมู่บ้านเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน เป็นผู้ปฏิบัติเคร่งครัดในฮีต12 คอง14 ซึ่งเป็นจารีตประเพณี ของชาวอีสานทั่วไป ปัจจุบันก็ยังนับถือปฏิบัติกันอยู่ แม้จะไม่เคร่งครัดเหมือนรุ่นก่อนก็ตาม คดีข่มขืน ความผิดเกี่ยวกับเรื่องชู้สาวหรือถ้อยความเกี่ยวกับความผิดทางเพศแทบจะไม่มีเลย
ซึ่งเป็นจารีตประเพณีของชาวอิสานทั่วไป   ปัจจุบันก็ยังนับถือปฏิบัติกันอยู่แม้จะไม่เคร่งครัดเหมือนคนรุ่นก่อนก็ตาม  คดีข่มขืน  ความผิดเกี่ยวกับเรื่องชู้สาวหรือถ้อยความเกี่ยวกับความผิดทางเพศแทบจะไม่มีเลย
๑๐.ประเพณีการนับถือผี
             นอกจากนับถือพระพุทธศาสนา  ยึดมั่นปฏิบัติในฮีต 12 ครอง 14 แล้วภูไท(ผู้ไท)รามราชยังนับถือเจ้า เช่น ผีพ่อแม่ ผีปู่ย่า ผีตายาย ผีบ้านผีเรือน ผีเจ้าที่เจ้าไร่ เจ้าป่าเจ้านา เจ้าห้วย เป็นต้น ผีบางตนจะเข้าสิงในร่างของผู้หญิงให้เป็นร่างทรง ถ้าไม่รับเอา ผีจะทำใหผู้หญิงคนนั้นเจ็บไข้ไม่สบาย ใครเจ็บป่วยรักษาไม่หาย จะเชิญร่างทรงมาทำพิธีเสียงทาย (เยา) ว่าถูกผีตนใดกระทำ ด้วยประสงค์ดีหรือร้ายแต่อย่างไรจะต้องแก้บนด้วยอะไรคนป่วยจึงจะหาย เรียกวิธีนี้ว่า “เยาคนป่วย”
                ในระหว่างเดือนสามเดือนสี่  จะมีการชุมนุมทรงเจ้าเข้าผีโดยผู้หญิงที่ถูกผีเข้าทรงร่าง(ผีเข้าเทียม)จะชุมนุมกันทำพิธีเชิญผีเข้าเทียมร่าง (เข้าทรง) กลายเป็นผีหมอพากันฟ้อนรำไปตามจังหวะเสียงแคนที่หมอแคนป่า (ปัจจุบันใช้ดนตรีพื้นเมืองบรรเลงให้จังหวะ) ผลัดกันลำทำนองภูไท (ผู้ไท) ตลอดเวลา 2 วัน 1 คืน  เรียกประเพณีนี้ว่า “ฟ้อนผีหมอ”
                ในบริเวณป่าไม้ใกล้หมู่บ้าน มีศาสเจ้าหอปู่ตาเป็นที่สิงสถิตของเจ้าพ่อปู่ตาในหมู่บ้านมี “พ่อหมอ” เป็นกวนจ้ำ ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างชาวบ้านกับเจ้าพ่อปู่ตาใครเจ็บป่วยจะไปบนบานให้หายเจ็บป่วยใครจะไปค้าขายหรือทำงานต่างถิ่น จะไปบอกลาและบอกกล่าวให้ตามไปปกปักรักษาโดยผ่านพ่อหมอก่อนเมื่อหายป่วย หรือกลับจากค้าขาย ทำงานกลับมาโดยปลอดภัย จะนำหมู ไก่พร้อมเหล้า 1ขวดไปถวายเจ้าปู่ตาโดยผ่านพ่อหมอ (กวนจ้ำ) เรียกการไปบนครั้งแรกว่า (คอบ) และเรียกการไปแก้บนครั้งหลังว่า “ แก้บะ”  โดยไปทำพิธีที่บ้านพ่อหมอ (กวนจ้ำ)
                  เมื่อถึงฤดูฝนก่อนชาวบ้านจะลงทำนา  จะมีพิธีเลี้ยงผีปู่ตาเส้นไหว้สังเวยด้วยหมู ไก่และสุราที่ศาลเจ้าพ่อปู่ตา พ่อหมอ (กวนจ้ำ) จะนำอาหารที่ทำจากหมู ไก่และสุราเส้นไหว้สังเวย บอกกล่าวให้เจ้าพ่อปู่ตามารับของสังเวยแล้วคลบันดาลให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมบูรณ์ เสร็จพิธีจะยกอาหารและสุรามาร่วมกันรับประทานระหว่างผู้ไปร่วมงาน เรียกพิธีนี้ว่า “เลี้ยงหอปู่ตา”  และจะมีพิธีเลี้ยง เซ่นไหว้ครั้งใหญ่ทุกสามปี ซึ้งเป็นพิธีที่ใหญ่โตพอสมควร ประชาชนทุกคนในหมู่บ้านจะออกเงินกันซื้อควาย 1 ตัวพร้อมด้วยสุราเป็นของเซ่นไหว้ เมื่อถึงวันกำหนดทำพิธีทุกครัวเรือนละ 1 คนจะไปร่วมพิธีนำควายไปฆ่าที่ดอนหอปู่ตาแล้วแยกเนื้อส่วนหนึ่งสำหรับเซ่นไหว้ จะแจกพวกเนื้อให้แก่ผู้ไปร่วมในพิธีประกอบเป็นอาหารรับประทานเป็นกลุ่มๆ ตามป่าหรือท้องไร้ท้องนาห้ามนำเข้าไปปรุงเป็นอาหารรับประทานที่บ้านเรียกประเพณีนี้ว่า “สองปีฮาม” สามปีเลี้ยง
              เวลาใครมีงานหนักหรือเร่งด่วน เช่น ปลูกสร้างบ้าน ปักดำนา เก็บเกี่ยวข้าวเป็นต้น จะมีการขอแรงเพื่อนบ้านให้มาช่วย ผู้ได้รับการขอร้องจะไปช่วยทำงานให้โดยไม่คิดค่าแรงงาน เพียงแต่เจ้าของงานนำข้าวปลาอาหารไปรับรองเลี้ยงดูผู้ไปช่วยงานเรียกประเพณีนี้ว่า “นาวาน”
              เมื่อมีการจัดงานต่างๆเช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานบวชนาค งานแต่งงานเป็นต้น เจ้าภาพจะบอกกล่าวเชื้อเชิญญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านไปร่วมงานด้วยวาจา ไม่มีการแจกบัตรเชิญ ผู้ได้รับเชิญจะไปร่วมงานด้วยความเต็มใจ โดยเฉพาะงานศพ จะไม่มีการบอกกล่าวเลย บ้านใครมีคนตายและมีการตั้งศพบำเพ็ญกุศลจะมีการบอกกล่าวต่อๆกันไป ทุกคนจะไปร่วมงานโดยไม่มีการเลือกที่รักมักที่ชังเป็นญาติพี่น้องหรือไม่ตอนกลางคืนจะมีการคบงันอยู่เป็นเพื่อนเจ้าภาพมีการละเล่นต่างๆ เป็นการแก้ง่วงเหงาหาวนอนจนดึกดื่น(บางคนถึงสว่าง) เรียกประเพณีนี้ว่า “งันเฮือนดี”
๑๑.วิถีชีวิตและความเป็นอยู่
             ภูไท (ผู้ไท) รามราชมีวิถีชีวิตและความเป็นอยู่แบบสังคมชนบท เป็นคนรักสงบ สนุกสนานร่าเริง รักเพื่อนพ้อง มีน้ำใจ เอื้ออาทร ชอบช่วยเหลือคนอื่น ขยันขันแข็งในการทำงาน รู้จักพึ่งตนเองและพึ่งพาอาศัยกันและกัน มีความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย ส่วนมากมีฐานะพออยู่พอกิน
             คนรามราชรุ่นปู่ย่าตายายสามารถผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือนและเครื่องนุ่มห่มขึ้นใช้เอง ผู้ชายชำนาญการจักสาน ผู้หญิงชำนาญการทอผ้า  อาหารการกินหาเองได้ จากแหล่งธรรมชาติป่าดงและห้วยหนองเงินมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตน้อยมากคนรุ่นก่อนจึงมีเงินเก็บสะสมไว้เป็นมรดกตกทอดให้ลูกหลานเช่น   เงินฮาง เงินลาด   เงินบาทสมัยก่อน มีคำพังเพยกล่าวถึงวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของภูไท (ผู้ไท) รามราชว่า  “ เสร็จหน้านา ผู้ชายจักสาน ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายล่าสัตว์หาปลา ผู้หญิงเก็บเห็ดผักหญ้า ช่วยกันทำมาหากิน”
แต่ปัจจุบันการดำรงชีวิตและการเป็นอยู่ของชาวบ้านบ้านรามราชได้เปลี่ยนแปลงไป การทำมาหากินขัดสนลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมเศรษฐกิจ ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ป่าไม้และแหล่งน้ำซึ่งเป็นแหล่งอาหารและทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตถูกทำลายจากที่เคยอาศัยธรรมชาติและการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ได้เปลี่ยนไปตามกระแสโลกทุนนิยมในยุคโลกาภิวัตน์ แต่ภูไท(ผู้ไท) รามราชก็ยังสามารถยืนยันปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยุ่ได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพและตามสมควรแก่ฐานะ ภายใต้ร่มเงาแห่งพระพุทธศาสนาและพระบารมีแห่งองค์พระประมุขของชาติแผ่ปกเกล้าฯ ตลอดมา
หลักฐานอ้าง
1.คำบอกเล่า
-พ่อหมอสังคีบ   นิวงษา
 -ผู้ใหญ่เกื้อ   ภูชุม  ผู้ให้ข้อมูลเอกสารของสภาวัฒนธรรมตำบลรามราช
 -พ่อสา      เชื้อสุก
-ผู้ใหญ่น้อย   นิวงษา
-ผู้ใหญ่ภู  นิวงษา  อดีตผู้ใหญ่บ้าน  หมู่๑๔
2. ประวัติ / ตำนาน
              - จดหมายเหตุตำนานเมืองท่าอุเทน   หลวงชำนาญอุเทนดิฐ (บาฮด)
               -ประวัติเวียงจันทร์ล้าน (ภาษาลาว)  ลีลา วีรวง รวบรวม ปรับปรุง
              -ประวัติบุคคลสำคัญของไทย ตอนสงครามร้อยปี  สังข์ พัธโนทัย รวบรวม
                -พระราชบัญญัติลักษณะ การปกครองท้องที่ พุทธศักราช  2457
3. ประเพณีโบราณไทยอีสาน
เอกสารที่เป็นข้อมูลนั้นยึดแบบฉบับตามประวัติบ้านรามราชของอาจารย์พิศิษฐ์   พุทธศาวงศ์  ประธานสภาสภาตำบลรามราช  และในส่วนของความเชื่อนั้นได้รับข้อมูลจากพ่อหมอที่เป็นผู้นำการทำพิธีของชาวบ้าน



สภาพทางกายภาพของชุมชน
                ๑.สภาพทางภูมิประเทศ  ( ดิน  แหล่งน้ำ  ฝน  ป่าไม้  ดอนปู่ตา )
                                ที่ราบลุ่ม  และมีดอนปู่ตา  (ดอนหอจ่ากะเตา )  อีกทั้งยังบริเวณรอบๆดอนหอนั้นจะมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมากชาวบ้านไม่กล้าบุกรุกพื้นที่ดังกล่าวเพราะว่ามีความเชื่อเกี่ยวกับเจ้าที่ด้วย
                ๒.แผนที่บ้านรามราช  
                
                
 ๓.สภาพทั่วไปของตำบล :
           มีเนื้อที่ทั้งหมด 48,808 ไร่ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มและมีลำห้วยคูณ ลำห้วยชัน เป็นห้วยสายหลักไหลผ่าน
 ๔.อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ ติดกับ ต.โนนตาล อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม
ทิศใต้ ติดกับ ต.นาทราย และ ต.นาราชควาย อ.เมือง จ.นครพนม
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.เววินพระบาท อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม
ทิศตะวันตก ติดกับ ต.นาใน อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม
๕.ข้อมูลสถานที่สำคัญของหมู่บ้าน :
๕.๑)  อบต.รามราช  หลังเก่า
๕.๒) วัดสว่างอารมณ์  วัดโพธิ์ศรี  วัดศรีสะอาด   วัดป่าหัวสะพาน
๕.๓) ห้วยเค
๕.๔) ดอนหอปู่ตาจ่ากะเตา
๖.ระบบการปลูกพืช  เลี้ยงสัตว์  และการใช้แรงงาน 
                                ๖.๑)  พืชหลัก  พืชรองในชุมชน  ประวัติการปลูก  เตรียมดิน  วิธีการปลูก  การบำรุงรักษา  ปัญหาด้านการปลูกพืช  ผลผลิตที่ได้รับ  การกระจายผลผลิตการตลาด  เป็นต้น
              - พืชหลัก  ได้แก่ ข้าว
              - พืชรอง  ได้แก่ มันสำปะหลัง ยางพารา  ไม้ยูคา
              - ประวัติการปลูกพืช
                 การทำนา หมายถึง การปลูกข้าวและการดูแลรักษาต้นข้าวในนา ตั้งแต่ปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยว การปลูกข้าวในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปตามสภาพของดินฟ้าอากาศ และสังคมของท้องถิ่นนั้น ๆ ในแหล่งที่ต้องอาศัยน้ำจากฝนเพียงอย่างเดียว ก็ต้องกะระยะเวลาการปลูกข้าวให้เหมาะสมกับช่วงที่มีฝนตกสม่ำเสมอ และเก็บเกี่ยวในช่วงที่ฤดูฝนหมดพอดี เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นมีสภาพดินฟ้าอากาศที่แตกต่างกัน
        สำหรับการทำนาในหมู่บ้านรามราช มีปัจจัยหลัก 2 ประการ เป็นพื้นฐานของการทำนาและเป็นตัวกำหนดวิธีการปลูกข้าว และพันธุ์ข้าวที่จะใช้ในการทำนาด้วยหลัก 2 ประการ คือ
         1. สภาพพื้นที่ ( ลักษณะเป็นพื้นที่ราบ) และภูมิอากาศ
         2. สภาพน้ำสำหรับการทำนา
         ฤดูทำนาปีในหมู่บ้านรามราชปกติจะเริ่มราวเดือนพฤษภาคมถึงกรกฏาคมของทุกปี ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน เมื่อ 3 เดือนผ่านไป ข้าวที่ปักดำหรือหว่านเอาไว้จะสุกงอมเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว
การเตรียมดิน
ก่อนการทำนาจะมีการเตรียมดินอยู่ 3 ขั้นตอน
         1. การไถดะ เป็นการไถครั้งแรกตามแนวยาวของพื้นที่กระทงนา  เมื่อไถดะจะช่วยพลิกดินเพื่อให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศ ออกซิเจน และเป็นการตากดินเพื่อทำลายวัชพืช โรคพืชบางชนิด การไถดะจะเริ่มทำเมื่อฝนตกครั้งแรกในปีฤดูกาลใหม่ หลังจากไถดะจะตากดินเอาไว้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์
2. การไถแปร หลังจากที่ตากดินเอาไว้พอสมควรแล้ว การไถแปรจะช่วยพลิกดินที่กลบเอาขึ้นการอีกครั้ง เพื่อทำลายวัชพืชที่ขึ้นใหม่ และเป็นการย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง แต่โดยทั่วไปแล้วจะไถแปรเพียงครั้งเดียว
                3. การคราด เพื่อเอาเศษวัชพืชออกจากกระทงนา และย่อยดินให้มีขนาดเล็กลงอีก จนเหมาะแก่การเจริญของข้าว ทั้งยังเป็นการปรับระดับพื้นที่ให้มีความสม่ำเสมอ เพื่อสะดวกในการควบคุม ดูแลการให้น้ำ
การปลูก
       เป็นการปลูกข้าวโดยเพาะเมล็ดให้งอกและเจริญเติบโตในระยะหนึ่ง แล้วย้ายไปปลูกในที่หนึ่ง สามารถควบคุมระดับน้ำ วัชพืชได้ การทำนาดำแบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอน คือ
        การตกกล้า เพาะเมล็ดข้าวเปลือกให้มีรากงอกยาว 3 - 5 มิลลิเมตร นำไปหว่านในแปลงกล้า ช่วงระยะ 7 วันแรก ต้องควบคุมน้ำไม่ให้ท่วมแปลงกล้า และจะสามารถถอนกล้าไปปักดำได้เมื่อมีอายุประมาณ 20 - 30 วัน
         การปักดำ ชาวนาจะนำกล้าที่ถอนแล้วไปปักดำในแปลงปักดำ ระยะห่างระหว่างกล้าแต่ละหลุมจะมีความแตกต่างกันขึ้นกับลักษณะของดิน คือ ถ้าเป็นนาลุ่มปักดำระยะห่าง เพราะข้าวจะแตกกอใหญ่ แต่ถ้าเป็นนาดอนปักดำค่อนข้างถี่ เพราะข้าวจะไม่ค่อยแตกก
การเก็บเกี่ยว
        หลังจากที่ข้าวออกดอกหรือออกรวงประมาณ 20 วัน ชาวนาจะเร่งระบายน้ำออก เพื่อเป็นการเร่งให้ข้าวสุกพร้อมๆ กัน และทำให้เมล็ดมีความชื้นไม่สูงเกินไป จะสามารถเก็บเกี่ยวได้หลังจากระบายน้ำออกประมาณ 10 วัน ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยว
การนวดข้าว
        หลังจากตากข้าว ชาวนาจะขนเข้ามาในลานนวด จากนั้นก็นวดเอาเมล็ดข้าวออกจากรวง บางแห่งใช้แรงงานคน บางแห่งใช้ควายหรือวัวย่ำ แต่ปัจจุบันมีการใช้เครื่องนวดข้าวมาช่วยในการนวด
การเก็บรักษา
เมล็ดข้าวที่นวดฝัดทำความสะอาดแล้วควรตากให้มีความชื้นประมาณ 14% จึงนำเข้าเก็บในยุ้งฉาง
                                ๖.๒)ชนิด  จำนวน  เหตุผลของสัตว์ที่เลี้ยง  ปัญหาด้านการเลี้ยงสัตว์  การกระจายผลผลิต  และการตลาด
                             -ได้แก่ วัว ควาย เป็ด ไก่  สุกร
๖.๒.๑    เหตุผลของสัตว์ที่เลี้ยง
              การเลี้ยงวัวควาย การเลี้ยงวัวควายเพื่อใช้แรงงาน   การเลี้ยงแบบนี้เป็นแบบที่ดำเนินกันทั่วไป อันได้แก่ การเลี้ยงวัวควายเพื่อเป็นส่วนประกอบของการทำไร่ทำนา  โดยมิได้มุ่งเลี้ยงเป็นการค้าโดยเฉพาะการเลี้ยงเป็นไปแบบตามมีตามเกิด  ไม่ต้องมีวิชาการเข้าช่วยมากนัก  อาศัยธรรมชาติเป็นเครื่องอำนวยการเลี้ยง  เป็นการเลี้ยงแบบธรรมชาติ
               การเลี้ยงเป็ดไก่สุกร ชาวบ้านเลี้ยงเพื่อนำมาเป็นอาหาร ในครัวเรือน บางครั้งก็มีการจำหน่าย ในหมู่บ้าน
๖.๒.๒  ปัญหาด้านการเลี้ยงสัตว์
-ปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายของสัตว์  สัตว์ติดโรคง่ายในฤดูฝน
-การกระจายผลผลิตการตลาด  มีการกระจายผลผลิตโดยส่งขายในตลาด สหกรณ์  ร้านค้า และ หน่วยงานของราชการ
๗.สาธารณูปโภคของหมู่บ้าน 
                                ๗.๑การคมนาคม  การติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกหมู่บ้าน
มีการพัฒนาโครงการของรัฐในการสร้างถนนเพื่อการคมนาคมติดต่อกับทางจังหวัด  หมู่บ้านอื่นๆถนนหนทางมีความสะดวกสบาย  อนึ่งเป็นหมู่บ้านที่ถือว่าอยู่ใกล้ตัวเมืองทำให้ไม่ค่อยลำบากในการใช้ถนนคมนาคม  สำหรับการติดต่อสื่อสารก็จะมีบุรุษไปรษณีย์รับหน้าที่ในการรับส่งพัสดุไปรษณีย์  นอกจากนี้ยังมีการรับเอาเทคโนโลยีคือโทรศัพท์มาใช้ในการติดต่อสื่อสารด้วยทำให้สามารถเชื่อมโยงและติดต่อกับหมู่บ้านอื่นได้สะดวก
                                ๗.๒)การมีไฟฟ้าใช้ในหมู่บ้านและการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อชุมชน
การมีไฟฟ้าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตคือมีการใช้เชื้อเพลิงมากขึ้นรายจ่ายค่าไฟก็เกิดขึ้นเพิ่มเป็นภาระเข้ามาอีก แต่ก็เป็นความสะดวกสบายอีกอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิตทำให้เกิดการรู้เท่าทันโลกเทคโนโลยีเป็นการเปิดโอกาสแก่คนในชุมชน  เช่น  การใช้ไฟฟ้าในการอ่านหนังสือ  การประชาสัมพันธ์ข่าวในหมู่บ้าน  ฯลฯ
                                ๗.๓)การมีประปาหมู่บ้านและการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อชุมชน
                                การมีประปาใช้เป็นทั้งประโยชน์และโทษ  เพราะว่าคนในหมู่บ้านยังไม่รู้จักคุณค่าของน้ำเท่าที่ควรทำให้ใช้น้ำเปลือง  เกิดบ่อประปาแห้ง  อีกอย่างจากการใช้น้ำที่ไม่ประหยัดนี้เองยังส่งผลให้แหล่งน้ำเสียมีการปล่อยน้ำที่ใช้แล้วลงสู่แม่น้ำลำคลองในธรรมชาติเกิดการเสียระบบนิเวศ
๘.การสาธารณสุข 
                                ๘.๑)โรคที่ชาวบ้านเป็นกันมาก   และวิธีการรักษา  ( วิธีการรักษาแพทย์แผนปัจจุบัน  และการรักษาแบบพื้นบ้าน )  การตัดสินใจในการป้องกันรักษาโรคภัยของชาวบ้าน
โรคที่ชาวบ้านเป็นกันมาก
- อาหารเป็นพิษ
วิธีการรักษา
- การให้คำแนะนำแก่ชาวบ้าน
- แยกประเภทคนไข้
- การตรวจร่างกาย
- การรักษา , การรักษาขั้นพื้นฐาน
- ภาวะขาดน้ำแนะนำวิธีการรับประทานเกลือแร่
- รักษาด้วยยาปฎิชีวนะ
(วิธีการรักษาแพทย์แผนปัจจุบัน และการรักษาแบบพื้นบ้าน)
             การรักษาแนะนำให้กินฟ้าทะลายโจร (เป็นสมุนไพรที่ช่วยในระบบขับถ่าย หรืออาการท้องร่วง และสามารถบรรเทาอาการไอ้ แก้เป็นไข้ ฯลฯได้เป็นอย่างดี)
การป้องกันโรคภัยของชาวบ้าน
                                            -แนะนำให้ชาวบ้านรู้จักการกินร้อนช้อนกลาง
๘.๒)บริการสาธารณสุขในหมู่บ้าน ( ตู้ยา สหกรณ์ สถานีอานามัย ฯลฯ)
                             -มีศูนย์ ศ.... ( CANDO )
๘.๓)บทบาทของ อสม.
                             -แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงานสาธารณสุข บำบัดทุกข์ประชาชน ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี
               ๘.๔)  ภาวะโภชนาการของเด็กวัย  0-5  ปี
                             -การให้วัซี
                              -การชั่งน้ำหนักทุก 4 เดือน
                              -ประเมินพัฒนาการทุก 4 เดือน
                             -การดูแลฟันน้ำนม , ป้องกันฟันผุ
                               -การให้คำปรึกษาแนะนำอาหารตามวัยและโรค
                               -แนะนำการดื่มนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด – 4 เดือน
                                ๘.๕อนามัยแม่และเด็ก
                               -แนะนำการฝากครรภ์
                              -ฝากครรภ์คุณภาพครบ 4 ครั้ง ก่อนคลอดและหลังคลอด
                              -ออกเยี่ยมหลังคลอด 4 ครั้ง
                              -แนะนำการดื่มนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด – 4 เดือน
                               -การให้วัซี
                             -การชั่งน้ำหนักทุก 4 เดือน
                              -ประเมินพัฒนาการทุก 4 เดือน
                             -การดูแลฟันน้ำนม , ป้องกันฟันผุ
                             -การให้คำปรึกษาแนะนำอาหารตามวัยและโรค
                                ๘.๖) สุขาภิบาล  ( โอ่ง  ส้วม  แหล่งน้ำ  การกำจัดสิ่งปฏิกูล  ฯลฯ )
-การสำรวจ จ... องค์บริหารส่วนตำบลรามราช ออกเก็บขยะทุกวันพุธ
                             -มีการแจกโอ่ง โดยมีงบสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลรามราช
                              -การทำห้องน้ำ ห้องส้วม ต้องมีการแจ้งทางอนามัยทุกครั้งจึงจะสามารถทำห้องน้ำ ห้องส้วมได้ในทุกหลังคาเรือน
                                            -มีน้ำปะปาประจำหมู่บ้าน
                             -การกำจัดสิ่งปฎิกูล มีล่องน้ำในการบำบัดสิ่งปฎิกูล
                                ๘.๗ทันตภิบาล
-ตรวจฟันน้ำนมใน เด็ก 9 เดือน ถึง 3 ปี
                                            -การตรวจฟันแท้ เด็ก 4-10 ปี ที่โรงพยาบาล
                                            -การตรวจฟันผุ เหงือกอักเสบ
                                            -การเคลือบฟูออลาย การอุดฟันผุ ในเด็กประถม
                                            -การตรวจสุขภาพประจำปี
                                ๘.๘สุขภาพจิต  สาเหตุ  และผลกระทบ
                            -มีการขัดเกลาในสภาวะอาการซึมเศร้า ทั้งในหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ และในวัยทำงาน เด็กวัยทีน วัยรุ่น ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด เพื่อป้องกันการค้าตัวตายจึงมีการให้การอบรมณ์และชี้แนะแนวทางให้อย่างถูกวิธี
            สาเหตุ  การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
            ผลกระทบ   จากปัญหาที่พบมากคือวัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังอยากรู้ อย่างลอง  จึงทำให้เกิดการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร เพราะฉะนั้นวัยรุ่น วัยเด็ก เป็นอนาคตของชาติการแก้ปัญหาในอันดับแรกคือการเริ่มจากครอบครัว



โครงสร้างของสังคม
๑.ระบบเครือญาติ
                                เป็นแบบพี่น้องร่วมสายเลือดมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นอย่างดีโดยจะมีการไปมาหาสู่กันโดยมีศูนย์กลางเป็นปู่  ย่า  ตา  ยาย  ที่นับถือเหมือนกัน 
๒.เศรษฐกิจและอาชีพ


                                                                             โรงทำเหล้าต้มจ้า

                                ๒.๑การประกอบอาชีพหลัก  อาชีพรองของชาวบ้าน
                                มีการทำนาเป็นอาชีพสำคัญ  อาชีพรองก็มีการปลูกมันสำปะหลัง  การเลี้ยงสัตว์  การค้าขาย  การทำเครื่องจักรสาน  การเหลาไม้ลูกชิ้นส่งขายที่ตลาด  การเผาถ่าน  การปลูกยางพารา  การปลูกต้นกระดาษ  การทอเสื่อ  การเย็บผ้า  ฯลฯ
                                ๒.๒การผลิต  การลงทุน  และการใช้แรงงาน  และเทคโนโลยีต่างๆ
                                เริ่มมีการนำเทคโนโลยีมาใช้  เช่น  เมื่อก่อนชาวบ้านใช้วัว  ควายไถนา  แต่ปัจจุบันก็มีการเปลี่ยนมาใช้รถไถแทน  นอกจากนี้ยังมีการใช้ปุ๋ยเคมี  และยาฆ่าแมลงด้วย  การใช้แรงงานนั้นจะเป็นการช่วยตัวเองและมีการช่วยเหลือจากกลุ่มญาติๆด้วย
                                ๒.๓ชนชั้นในหมู่บ้าน  ความสัมพันธ์ทางการผลิตระหว่างชนชั้นต่างๆในหมู่บ้านและการครอบครองปัจจัยการผลิตระหว่างชนชั้นต่างๆในหมู่บ้าน
ไม่มีการแบ่งชนชั้นจะยังเป็นความเท่าเทียมกันในสังคมเพียงแต่ถ้าเป็นระบบครอบครัวนั้นสามีจะมีบทยาทมากกว่าภรรยาและคนที่เป็นภรรยาจะต้องให้ความเคารพสามีด้วย 
                                ๒.๔ตลาดสำหรับผลผลิต  ทั้งในและนอกหมู่บ้าน
                                มีตลาดนัดชุมชนชาวตำบลรามราชที่ชาวบ้านสามารถมาขายของได้มีตลาดคลองถม นอกจากนี้ตลาดที่อยู่นอกหมู่บ้านจะมีนายทุนมารับซื้อผลผลิตทางการเกษตร  หรือไม่ชาวบ้านก็จะนำไปขายที่ในเมือง
                                ๒.๕ผลตอบแทนที่ชาวบ้านได้รับ  เช่น  รายได้  ภาวะหนี้สิน  การกู้ยืมเงิน  เป็นต้นฯลฯ
                                มีกองทุนหมู่บ้านและสหกรณ์ภายในหมู่บ้านและจะมีการแบ่งปันหุ้นกันในกลุ่มสมาชิก
                                ๒.๖ลักษณะจำนวนร้านค้าภายในหมู่บ้าน  และชนิดสินค้า
                                ส่วนมากแล้วจะเป็นร้านค้าที่ขายเครื่องอุปโภค  บริโภค  นอกจากนี้ยังมีร้านขายอาหารเช่น  ก๋วยเตี๋ยว  ส้มตำ  ไก่ย่าง  ลูกชิ้น  อาหารตามสั่ง  ฯลฯ  และมีเครื่องดื่ม เช่น  ชาไข่มุก  น้ำปั่น  และจิปาถะอื่นๆ  เช่น  บริการเติมเงินออนไลน์
                                ๒.๗คนที่มีที่ดินจำนวนมากที่สุดและน้อยที่สุด  จำนวนที่ดินทำกินโดยเฉลี่ยจำนวนคนที่ไม่มีที่ดินทำกิน
ไม่สามารถระบุจำนวนที่แน่นอนได้เพราะสถานที่บางแห่งไม่มีใบฉโนดที่ดินและไม่มีการแจ้งทางผู้ใหญ่บ้านหรือตำบล  ทำให้ไม่สามารถระบุได้ในจำนวนที่แน่นอน
๒.๘ระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของภายในและภายนอกหมู่บ้าน
                                จะเป็นการแบ่งปันมากกว่าแต่ภ้าเป็นอกหมู่บ้านจะเป็ฯการแลกข้าวกับเกลือ  หรือพริกกับข้าว  เป็นต้น
                                ๒.๙) รูปแบบการแลกเปลี่ยนแรงงาน  การลงแขก
                                มีการช่วยเหลือกันในเครือญาติ  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ละวาน  หรือถ้าทำงานไม่เสร็จก็จะเป็นการจ้างวันต่อวัน
                                ๒.๑๐) ปัญหาทางด้านการทำมาหากิน  ขาดเงินทุน  แหล่งน้ำ  ที่ทำกิน  ภัยธรรมชาติ  การบุกรุกที่ดนสาธารณะ  ป่าสงวนแห่งชาติ
                                เนื่องจากที่นาของชาวบ้านนั้นบางอย่างมีการระบุในฉโนดที่ดินแล้วชาวบ้านยังไม่รู้จักเขตที่แน่นอน  ทำให้มีการล่วงละเมิดที่ดินของสาธารณะคือ  การเผาถ่าน  การถางป่าเพื่อทำนา  ทำสวน  มีการรุกล้ำพื้นที่มากขึ้นแต่ก็ยังไม่มีหน่วยงานในการแก้ปัญหานี้
                                ๒.๑๑)  สภาวะของความยากจนในหมู่บ้าน  รวมทั้งความคิดเห็นของชาวบ้านต่อสภาพเศรษฐกิจภายใน  และภายนอกหมู่บ้าน  ข้อเสนอแนะของชาวบ้านต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
                                อยู่ในระดับที่พอมีพอกิน  สำหรับความคิดเห็นด้านเศรษฐกิจนั้น  กลุ่มผู้สูงอายุอยากให้มีการรับซื้อสิ่งของที่ผู้สูงอายุทำขึ้น  เช่น  มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อเครื่องจักรสานที่บ้าน  ในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจนั้นอยากให้มีการพัฒนาโดยภาพรวมไม่ใช่แก้ปัญหาเฉพาะกลุ่มของคนที่มีอำนาจในหมู้บ้าน  การกระจายรายได้ก็เช่นเดียวกันชาวบ้านอยากให้ทั่วถึง
                                ๒.๑๒)  บทบาทของธนาคารข้าว  ธนาคารโค-กระบือ  ในทางเศรษฐกิจ
                                มีการจัดตั้งธนาคารข้าวในการเอาข้าวไปจำแล้วรับเงิน  หรือมีการกู้เงินไปลงทุนแล้วเอาข้าวมาแทนการจ่ายเงินโดยคิดทั้งต้นทั้งดอก
                                ๒.๑๓)  กิจกรรมพัฒนาต่างๆในหมู่บ้าน  เช่น  กลุ่มออมทรัพย์  กลุ่ม  ธ.ก.ส.  และกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆพร้อมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน
                                มีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านแต่ว่าในบ้านรามราชนั้นการกระจายโอกาสยังไม่ทั่วถึงการกระจายจะเป็นแบบพรรคพวกทำให้เป็นปัญหาที่สำคัญมากที่จะต้องรีบแก้ไข
                                ๒.๑๔อิทธิพลของการขายของเร่จากภายนอกเข้ามาในหมู่บ้าน  การให้เครดิตหรือสินเชื่อ  และผลต่อสถานภาพทางเศรษฐกิจของชาวบ้าน 
                                สร้างความไม่พอใจแก่ร้านค้าเพราะเสียรายได้ในส่วนตรงนี้แต่การขายของเร่ยังเกิดผลดีคือทำให้สะดวกต่อการจับจ่ายซื้อของ
                                ๒.๑๕การเช่านา  พ่อค้าคนกลางในหมู่บ้าน  บทบาทและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับชุมชน
                                ส่วนมากแล้วชาวบ้านจะมีที่นาเป็นของตนเองแต่จะเสียภาษีให้กับทางรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่
๓.การศึกษา
                                โดยส่วนมากคนมีการศึกษาในระดับต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่  ๖  แต่ในชุมชนบ้านรามราชมีสถานศึกษาที่สำคัญ  ตั้งแต่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  โรงเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่ให้การศึกษาถึงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                ๔.ศาสนา  วัฒนธรรม  ความเชื่อ
                                                                             รูปภาพวัดสว่างอารมณ์หมู่  17  (กำลังสร้าง)            

                                ๔.๑ชื่อวัดในหมู่บ้าน  ความเป็นมาจำนวนพระภิกษุ  สามเณร
     -วัดศรีชมชื่น หรือ วัดป่าหัวสะพาน (หมู่ที่1)  บ้าน รามราช ตำบล รามราช อำเภอ ท่าอุเทน จังหวัด นครพนม  มีพระ 1 รูป
      -วัดศรีสะอาด (หมู่ที่2) บ้าน รามราช ตำบล รามราช อำเภอ ท่าอุเทน จังหวัด นครพนมมีพระ 2 รุป
      -วัดศรีสะอาดโพนสิมมา (หมู่ที่14)  บ้าน รามราช ตำบล รามราช อำเภอ ท่าอุเทน จังหวัด นครพนม  มีพระ 1 รูป  แม่ชี  1 รูป   วัดศรีสะอาดโพนสิมมา เป็นวัดเก่าแก่ ของหลวงปู่คำมั่น ได้มาสร้างขึ้นใน พ.ศ 2446  (มีรอยพระพุทธบาทของหลวงปู่คำมั่น ประทับอยู่ ณ ศาลาวัด)
     -วัดสว่างอารมณ์ (หมู่ที่17)  บ้าน รามราช ตำบล รามราช อำเภอ ท่าอุเทน จังหวัด นครพนมมีพระ 2 รูป วัดสว่างอารมณ์ ผู้สร้างคือ หลวงปู่ สิงห์ สุนทะโร สร้างขึ้นใน พ.ศ 2495  ( หลวงปู่ วงค์ จักรกะวะโร  ผู้ให้ข้อมูล)
                                ๔.๒บทบาทของวัดในด้านพิธีกรรม  ความเชื่อ  และการพัฒนาต่อชุมชน
                                วัดมีความสำคัญอย่างมากต่อชุมชนเพราะวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจขิงหมู่บ้าน  เป็นสถานที่ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือมากที่สุดอีกแห่งหนึ่ง  วัดนั้นถือว่ามีบทบาทสำคัญในการประกอบพิธีกรรมในทางพระพุทธศาสนาเพราะว่าเวลามีงานเทศกาลที่สำคัญจะมีการนิมนต์พระภิกษุมาทำพิธีกรรมทางศาสนาที่บ้าน  ชาวบ้านนั้นมีการนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนมากดังนั้นการทำพิธีทางศาสนาจึงเป็นที่เคารพของชาวบ้านเพราะถือว่าตัวแทนทางศาสนาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย  นอกจากนี้วัดยังพัฒนาชุมชนในการมีส่วนร่วมกับทางโรงเรียนในการที่ให้ความรู้เยาวชนในสถานศึกษาด้านคุณธรรมและจริยธรรมแก่นักเรียนด้วย
                                ๔.๓ประเพณีและสันทนาการพื้นบ้าน  เช่น  การละเล่นพื้นบ้านและดนตรีพื้นบ้าน
                                ฟ้อนผีหมอ  ประเพณีการเยา  การเลี้ยงหอ  ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างมากชาวบ้านรามราชมีความเชื่อเรื่องผีสางนางไม้เป็นทุนเดิม  ทมีการยึดถือสืบเนื่องมาจากประเทศลาวด้วยอิทธิพลทางความเชื่อจึวงมีการรับมาจากลาว  นอกจากนี้ยังมีการสืบทอดประเพณีที่สำคัญต่างๆของชาวอีสาน  เช่น  ห่อข้าวสาก  การทำบุญมหาชาติ  การห่อข้าวประดับประดิน  ฯลฯ  ด้านดนตรีพื้นบ้านนั้นจะมีพิณ  แคน  ซึ่งใช้เล่นเพื่อความสนกสนานภายในบ้านของตนเอง
๔.๔อิทธิพลของระบบสื่อสารมวลชน  เช่น  วิทยุ  โทรทัศน์  และผลกระทบต่อชาวบ้าน
                                มีการรับข่าวสารผ่านสื่อดังกล่าวนี้  การที่รับข่าวมาจากสื่อนั้นทำให้บางข่าวชาวบ้านดูแล้วขาดการพิจารณาเกิดเป็นปัญหาเช่น  การเมืองไทย  ถือว่าสร้างความแตกแยกบางคนเลือกฝ่ายหนึ่งแต่อีกคนก็เลือกอีกฝ่ายหนึ่งทำให้มีการปะทะคารม  เกิดความไม่เข้าใจกัน  รวมทั้งโทรศัพท์นั้นถือว่ามีบทบาทสำคัญในการติดต่อสื่อสารวัยรุ่นในหมู้บ้านใช้โทรศัพท์ในทางที่ไม่ดีคุยทั้งวันจนเสียการเรียนก็มี  ซึ่งเป็นปัญหาที่ยากต่อการแก้ไข
                                ๔.๕อิทธิพลศาสนา  และความเชื่อต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านต่อชุมชน
                                ศาสนามีส่วนที่สำคัญมากต่อชาวบ้านเพราะเวลาทำอะไรก็ตามจะมีการยึดฤกษ์งามยามดีเป็นสำคัญ  มีการนิมนต์พระมาสวดมนต์ที่บ้านทั้งในงานมงคลและงานอวมงคล  นอกจากนี้ยังมีการจัดงานที่เกี่ยวกับศาสนา  เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านด้วย
๕.การเมืองและการปกครองท้องถิ่น
 
                                ๕.๑ลักษณะการปกครองในหมู่บ้าน
ประชาธิปไตยแต่ว่าผู้สูงอายุหรือกลุ่มคนที่เคยมีอำนาจเก่าๆจะมีส่วนสำคัญมากอีกอย่างการยอมรับของชาวบ้านก็ถือว่าสำคัญเช่นเดียวกัน
                                ๕.๒ประเภทของผู้นำ  ( ผู้นำทางการ  ผู้นำไม่เป็นทางการ )
                                ผู้นำที่เป็นทางการจะเป็นประเภทมาจากการเลือกตั้งได้รับการแต่ตั้งจากคนในหมู่บ้านแต่ผู้นำที่ไม่เป็นทางการจะเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน
                                ๕.๓องค์กรหรือกลุ่มทางการ  และไม่เป็นทางการ  เช่น  กม.  กพสม.  เป็นต้น
                                มีการร่วมมือกับอบต  เช่น  มีนักพัฒนาชุมชนจัดโครงการพัฒนาชุมชนขึ้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน
๕.๔การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในด้านการคิดและการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ของหมู่บ้าน
                                เมื่อเป็นระบบที่ว่าแบ่งพรรคพวกเวลามีการประชุมก็จะมาแต่กลุ่มของคนกลุ่มเดียวทำให้การแก้ปัญหาไม่สำเร็จและเวลากระจายผลประโยชน์ก็เช่นเดียวกัน  เลยกลายเป็นปัญหาที่สำคัญของหมู่บ้าน
๖.ทิศทาง  สภาพและแนวทางการพัฒนาของหมู่บ้าน 
                                ๖.๑) ผลกระทบของโครงการพัฒนาทั้งจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่มีต่อชุมชน
เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ  บางโครงการที่มาจากรัฐนั้นทำให้วิถีการดำรงชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนไป  เช่นจากการที่รัฐมีโครงการถนนในหมู่บ้านนั้นวัยรุ่นในหมู่บ้านใช้เป็นแหล่งแข่งรถซิ่ง   แต่หลายโครงการก็ถือว่าเป็นการริเริ่มความรู้ใหม่ๆสู่ชุมชน  คือ  ชาวบ้านได้รับประโยชน์จากการที่รัฐเข้ามามีบทบาทในเรื่องกองทุนหมู่บ้านให้มีทุนในการประกอบอาชีพ  และการแนะนำวิธีการทำไร่ทำนาหรือการถ่ายทอดความรู้จากวิทยากรที่มาลงพื้นที่ชุมชนก็ทำให้ชาวบ้านเข้าใจปัญหาและแนวทางแก้ไขมากขึ้น  เช่น  การปลูกข้าว 

  
ประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชน

ดอนปู่ตาที่ชาวบ้านนับถือ  (จ่ากะเตา)

                นอกจากนับถือพระพุทธศาสนา  ยึดมั่นปฏิบัติในฮีต 12 ครอง 14 แล้วภูไท(ผู้ไท)รามราชยังนับถือเจ้า เช่น ผีพ่อแม่ ผีปู่ย่า ผีตายาย ผีบ้านผีเรือน ผีเจ้าที่เจ้าไร่ เจ้าป่าเจ้านา เจ้าห้วย เป็นต้น ผีบางตนจะเข้าสิงในร่างของผู้หญิงให้เป็นร่างทรง ถ้าไม่รับเอา ผีจะทำใหผู้หญิงคนนั้นเจ็บไข้ไม่สบาย ใครเจ็บป่วยรักษาไม่หาย จะเชิญร่างทรงมาทำพิธีเสียงทาย (เยา) ว่าถูกผีตนใดกระทำ ด้วยประสงค์ดีหรือร้ายแต่อย่างไรจะต้องแก้บนด้วยอะไรคนป่วยจึงจะหาย เรียกวิธีนี้ว่า เยาคนป่วย
               ในบริเวณป่าไม้ใกล้หมู่บ้าน มีศาสเจ้าหอปู่ตาเป็นที่สิงสถิตของเจ้าพ่อปู่ตาในหมู่บ้านมีพ่อหมอเป็นกวนจ้ำ ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างชาวบ้านกับเจ้าพ่อปู่ตาใครเจ็บป่วยจะไปบนบานให้หายเจ็บป่วยใครจะไปค้าขายหรือทำงานต่างถิ่น จะไปบอกลาและบอกกล่าวให้ตามไปปกปักรักษาโดยผ่านพ่อหมอก่อนเมื่อหายป่วย หรือกลับจากค้าขาย ทำงานกลับมาโดยปลอดภัย จะนำหมู ไก่พร้อมเหล้า 1ขวดไปถวายเจ้าปู่ตาโดยผ่านพ่อหมอ (กวนจ้ำ) เรียกการไปบนครั้งแรกว่า (คอบ) และเรียกการไปแก้บน   และครั้งสอง  เรียกว่า  แก้บะ”  โดยไปทำพิธีที่บ้านพ่อหมอ (กวนจ้ำ)
       เมื่อถึงฤดูฝนก่อนชาวบ้านจะลงทำนา  จะมีพิธีเลี้ยงผีปู่ตาเส้นไหว้สังเวยด้วยหมู ไก่และสุราที่ศาลเจ้าพ่อปู่ตา พ่อหมอ (กวนจ้ำ) จะนำอาหารที่ทำจากหมู ไก่และสุราเส้นไหว้สังเวย บอกกล่าวให้เจ้าพ่อปู่ตามารับของสังเวยแล้วคลบันดาลให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมบูรณ์ เสร็จพิธีจะยกอาหารและสุรามาร่วมกันรับประทานระหว่างผู้ไปร่วมงาน เรียกพิธีนี้ว่า เลี้ยงหอปู่ตา  และจะมีพิธีเลี้ยง เซ่นไหว้ครั้งใหญ่ทุกสามปี ซึ้งเป็นพิธีที่ใหญ่โตพอสมควร ประชาชนทุกคนในหมู่บ้านจะออกเงินกันซื้อควาย 1 ตัวพร้อมด้วยสุราเป็นของเซ่นไหว้ เมื่อถึงวันกำหนดทำพิธีทุกครัวเรือนละ 1 คนจะไปร่วมพิธีนำควายไปฆ่าที่ดอนหอปู่ตาแล้วแยกเนื้อส่วนหนึ่งสำหรับเซ่นไหว้ จะแจกเนื้อให้แก่ผู้ไปร่วมในพิธีประกอบเป็นอาหารรับประทานเป็นกลุ่มๆ ตามป่าหรือท้องไร้ท้องนาห้ามนำเข้าไปปรุงเป็นอาหารรับประทานที่บ้านเรียกประเพณีนี้ว่า สองปีฮามสามปีเลี้ยง
เวลาใครมีงานหนักหรือเร่งด่วน เช่น ปลูกสร้างบ้าน ปักดำนา เก็บเกี่ยวข้าวเป็นต้น จะมีการขอแรงเพื่อนบ้านให้มาช่วย ผู้ได้รับการขอร้องจะไปช่วยทำงานให้โดยไม่คิดค่าแรงงาน เพียงแต่เจ้าของงานนำข้าวปลาอาหารไปรับรองเลี้ยงดุผู้ไปช่วยงานเรียกประเพณีนี้ว่า นาวาน
เมื่อมีการจัดงานต่างๆเช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานบวชนาค งานแต่งงานเป็นต้น เจ้าภาพจะบอกกล่าวเชื้อเชิญญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านไปร่วมงานด้วยวาจา ไม่มีการแจกบัตรเชิญ ผู้ได้รับเชิญจะไปร่วมงานด้วยความเต็มใจ โดยเฉพาะงานศพ จะไม่มีการบอกกล่าวเลย บ้านใครมีคนตายและมีการตั้งศพบำเพ็ญกุศลจะมีการบอกกล่าวต่อๆกันไป ทุกคนจะไปร่วมงานโดยไม่มีการเลือกที่รักมักที่ชังเป็นญาติพี่น้องหรือไม่ตอนกลางคืนจะมีการคบงันอยู่เป็นเพื่อนเจ้าภาพมีการละเล่นต่างๆ เป็นการแก้ง่วงเหงาหาวนอนจนดึกดื่น(บางคนถึงสว่าง) เรียกประเพณีนี้ว่า งันเฮือนดี
ความสำคัญ  
๑.ป็นความเชื่อของชาวบ้านที่ถือมาตั้งแต่บรรพบุรุษหากไม่ทำตามเชื่อว่าจะเกิดอาเพส
๒.เจ้าปู่ตานั้นชาวบ้านถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ควรเคารพท่านปกปักรักษาชาวบ้านรามราชทั้งที่อยู่ในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน
๓.บริเวณดอนปู่ตาเป็นสถานที่ที่ชาวบ้านไม่กล้าตัดไม้ทำลายป่าเพราะกลัวอาถรรพ์
๔.เป็นการสร้างความสามัคคีของชาวบ้านเมื่อครั้งที่มีการประกอบพิธีกรรมชาวบ้านจะมีความร่วมมือเป็นอย่างดีไม่แบ่งพรรคแบ่งพวกแต่ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน  และเป็นลูกหลานปู่ตาเหมือนกันหมด
๕.เป็นการสืบทอดค่านิยมที่ดีงามเพราะในการทำพิธีดังกล่าวนี้ชาวบ้านจะถือโอกาสสอนลูกหลานในการรักษาและประพฤติความดี  และเป็นพิธีกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของชาวบ้านรามราช
พิธีกรรม
การเลี้ยงหอเป็นพิธีกรรมที่มีมาตั้งแต่เมื่อครั้งที่อพยพมาจากเมืองเชียงฮมฝั่งลาว  เป็ฯพิธีกรรมที่ศักดิ์มากชาวบ้านเชื่อว่าคนที่เป็นพ่อหมอ  สามารถติดต่อกับเจ้าปู่ได้โดยท่านจะมาเข้าทรงพ่อหมอแล้วแสดงพฤติกรรมต่างๆออกมาให้ชาวบ้านเห็น  เมื่อเจ้าปู่มาเข้าทรงนั้นพฤติกรรมจะแตกต่างจากมนุษย์เราคือ  ท่านทำในสิ่งที่เราไม่สามารถที่จะทำไดเช่น  การเอามีดกรีดแขนสุดแรงแต่ไม่มีแผล  การฆ่าควายที่ใช้ในพิธีกรรมโดยหว่านเพียงข้าวสารใส่  อีกทั้งตอนที่เจ้าปู่เข้าทรงนั้นหากท่านบอกอะไรถือว่าสิ่งนั้นเป็นความศักดิ์สิทธิ์เราจะละเมิดไม่ได้แม้แต่ต้นไม้ที่ท่านชี้บอกว่าเป็นยารักษาทุกโรคก้อสามารถรักษาคนได้จริงๆ  แม้แต่ใต้ถุนบ้านท่าน(ดอนหอ)        ก็ไม่มีแม้แต่หญ้าขึ้น  ทั้งที่เป็นบริเวณป่าแต่สะอาดเฉพาะอาณาเขตท่านเท่านั้น  ขนาดตอนที่ทำพิธีฆ่าควายนั้น   สนุขที่มามุงดูยังไม่กล้าแม้แต่จะเห่า  ไม่กล้าเข้าไปกิน  และต้องมีการกินเลี้ยงทุกๆสามปีจึงจะจัดครั้งหนึ่งถือว่าเป็นพิธีกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่เป็นที่น่าสนใจทั้งในและนอกหมู่บ้าน  เรียกว่า  สองปีฮามสามปีคอบ
โดยในแต่ละปีนั้น  เดือน  สามตามปฏิทินลาวชาวบ้านจะฟ้อนผีหมอ  พอถึงเดือนหกตามปฏิทินลาวพ่อหมอจะจัดงานที่เรียกว่าเลี้ยงผีหรือเลี้ยงผีบ้านผีเมือง โดยผู้ใหญ่บ้านต้องแจ้งให้ลูกบ้านทราบโดยจะมีการประกาศทางเครื่องเสียงนั่นเอง  และมีการนำข้าวสาร  เงิน  มากินบุญกินทาน(ร่วมบุญ)ที่บ้านพ่อหมอและมรการฉลองกน  1 วัน  1 คืน  ดังจะกล่าวในขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมต่อไป   ความศักดิ์สิทธิ์นี้มีหลายเหตุการณ์ด้วยกันดังจะยกตัวอย่างต่อไปนี้
๑.เมื่อครั้งที่จะเกิดเหตุการณ์สึนามิ  ปี  2546  ท่านเจ้าปู่ก็ช่วยลูกหลานโดยการตามไปปกปักรักษาและดลใจให้เกิดเหตุการณ์ที่ดึงชาวบ้านที่จะไปขายผ้าทีหาดป่าตอง  จังหวัดภูเก็ตไว้นั้น  คือ  มีชาวบ้านที่จะไปกับรถนายหน้านั้น  นึ่งข้าวอยู่พอนึ่งสุกแล้วข้าวกลายเป็นสีแดงเข้มเหมือนสีเลือดคน  จึงไปบอกพ่อหมอท่านก็ทำพิธีหาถึงเจ้าปู่แล้วเจ้าปู่ก็ห้ามว่าอย่าเดินทางในช่วงนี้ชาวบ้านที่จะไปในรถทั้งหมดก็เชื่อฟังตัดสินใจพักการเดินทาง  พอเช้าวันต่อมาก็เกิดเหตุการณ์สึนามิ
๒.มีลูกหลานจะไปทำงานที่ต่างประเทศได้มาทำพิธีครอบกับพ่อหมอเรียกให้ท่านเจ้าปู่มาปกปักรักษาพอไปถึงเมืองนอกต่นขึ้นมาก็เห็นเป็นรูปตาแก่นั่งมองอยู่จึงโทรมาหาคนที่บ้านแล้วเล่าให้ฟัง  คนที่บ้านเลยไปหาพ่อหมอท่านก็บอกว่าเจ้าปู่ตามไปรักษา
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีหลายเหตุการณ์และเป็นความเชื่อที่ชาวบ้านยึดอย่างเหนี่ยวแน่นถึงแม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตามแต่สิ่งหนึ่งที่จะคงอยู่คือการเคารพนับถือสิ่งที่บรรพบุรุษท่านพาสร้างมา


ภูมิปัญญาท้องถิ่น
การสานข้อง

๑.การทำเหล้าต้มรามราช  ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นการสร้างอาชีพให้ชาวบ้านได้ดีพอสมควรเนื่องจากเมื่อก่อนนั้นการทำเหล้าต้มยังไม่ขึ้นภาษีจึงมีการทำกินกันในหมู่บ้านแต่เมื่อไม่นานมานี้มีการขึ้นภาษีทำให้สามารถส่งขายได้ในต่างหมู่บ้านสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน
๒.การเผาถ่าน  เป็นอาชีพหนึ่งที่ชาวบ้านนิยมทำหลังจากการว่างจากช่วงการทำนา  การเผาถ่านนี้สร้างรายได้โดยชาวบ้านจะนำถ่านที่ดได้มาใช้ในครัวเรือนประหยัดแทนการใช้แก๊สหุงต้ม  อีกอย่างยังสามารถนำไปขายให้กับร้านค้าที่ทำอาหาร  เช่น  ขายก๋วยเตี๋ยว  ขายปลาเผา
๓.การปลูกยางพารา  ยางพาราเป็นอาชีพที่ชาวบ้านตื่นตัวในการทำมากเพราะเนื่องจากยางพาราเป็ฯไม้ยืนต้นที่สร้างอาชีพแก่ชาวบ้านได้ดีพอสมควรขาวบ้านจะนำน้ำยางที่ได้ไปขายที่ตลาดที่รับซื้อและขี้ยางนั้นยังสามารถขายได้ด้วย
๔.การปลูกต้นยูคาลิปตัส  ต้นยูคาชาวบ้านจะปลูกตรงที่ทุ่งนาซึ่งเป็นสถานที่ตรงเนินดินที่ว่างและมีปลูกตามคันนาด้วย
๕.การทำเครื่องจักรสาน   เช่น  สานข้อง   การเหลาไม้ลูกชิ้น  การสานแห  เป็นต้น
การประกอบอาชีพของชาวบ้านนั้นจะมีการเปลียนแปลงไปตามฤดูของช่วงทำนาหากว่างจากการทำนาจึงจะมีอาชีพเสริมเพราะชาวบ้านยึดอาชีพทำนาเป็นสำคัญ


ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
โรงเรียนดูแลลูกหลานของชาวบ้าน

สิ่งที่โรงเรียนให้กับชุมชน
๑.ด้านการศึกษา  
- จัดให้ชาวบ้านเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียน
-อบรมนักเรียนให้มีความรู้ความสามรถในการดำรงชีวิต
-เผยแพร่ความรู้ในด้านการดำรงชีวิต  เช่น  การเดินรณรงค์ต่อต้านปัญหาโรคระบาดต่างๆ
-การให้ความรู้กับชาวบ้านด้านการป้องกันยาเสพติด  โดยมีนักเรียนเป็นสื่อกลางในการกระจายความรู้ให้ผู้ปกครองทราบเกี่ยวกับภัยของยาเสพติด
๒.ด้านประเพณีวัฒนธรรม  ความเชื่อร่วมประเพณีของชุมชน 
-ช่วยงานวันสำคัญทางศาสนา  เช่น  งานเข้าพรรษา  มีการส่งนักเรียนมาร่วมงานหล่อเทียนและช่วยเสริฟน้ำ
-มีการเชิญพ่อหมอไปทำพิธีบายศรีสู่ขวัญในโรงเรียน
๓.ด้านกีฬาและนันทนาการ
-มีการจัดการแข่งขันกีฬาโดยชุมชนสามารถใช้สถานที่ของโรงเรียนในการจัดงานแข่งขันได้มีการร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนานักเรียนที่เป็นลูกหลานของชุมชนในการฝึกให้มีความสามารถในด้านกีฬา

๔.ด้านการเมืองการปกครอง
-มีการเข้าไปช่วยงานวันเวลาที่มีการเลือกตั้งในชุมชนเช่นการเลือกผู้ใหญ่บ้านก็สมารถใช้โรงเรียนเป็นสถานที่หรือนับคะแนนเลือกตั้ง
-มีการช่วยรณรงค์ให้คนในชุมชนให้รู้ถึงระบอบประชาธิปไตย
๕.ด้านสาธารณสุข   ด้านการขอความช่วยเหลือจากชุมชน
-มีการร่วมมือกับสถานีอนามัยในการขอข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันโรคแล้วนำมาเผยแพร่ให้ชุมชน
-มีการเชิญผู้นำชุมชนมาเป็นผู้ดูแลโรงเรียนเวลามีการเข้าค่ายหรือขอความร่วมมือเวลาจัดงานวันสำคัญ เช่น  วันพ่อ  วันแม่
-มีการลงพื้นที่ของครูผ่านการเยี่ยมผู้ปกครองเพื่อทราบฐานะความเป็นอยู่เป็นข้อมูลในการแก้ปัญหานักเรียนและการพิจารณาการให้ทุน

สิ่งที่ชุมชนให้กับโรงเรียน
๑.ด้านการศึกษา
-ชุมชนมีการให้ความวางใจโรงเรียนในการดูแลนักเรียนซึ่งเป็นบุตรหลานของชุมชน
-ชุมชนให้ทุนช่วยเหลือโรงเรียน
๒.ด้านประเพณี  วัฒนธรรม  ความเชื่อ
-เวลาบายศรีสู่ขวัญที่เชิญพ่อหมอไปเป็นผู้นำทางศาสนาทำให้มีการร่วมมือจากชาวบ้านในการทำบายศรีด้วย
๓.ด้านกีฬาและนันทนาการ 
-ชุมชนมีการสนับสนุนเวลาโรงเรียนขอความช่วยเหลือ  เช่น  งบในการจัดกิจกรรมวันกีฬาสี  มีการรวมปรับปรุงสนามกีฬาเช่นการปรับภูมิทัศน์รอบๆ
๔.ด้านการเมืองการปกครอง  
-ให้ความช่วยเหลือเวลาที่โรงเรียนมีการเปลี่ยนครู  ผู้อำนวยการ  โดยมีการจัดการต้อนรับร่วมกับโรงเรียน  มีการช่วยด้านการให้แม่ครัวในชุมชนมาทำอาหาร
๕.ด้านสาธารณสุข   ด้านการให้ความช่วยเหลือโรงเรียน
-มีการรักษาความสะอาดของสถานที่  สิ่งของ  ที่เป็นของโรงเรียน  เช่น  อาคารสถานที่  มีการพ่นควันกำจัดยุงลาย
-เวลาที่เด็กเดินรณรงค์มีการน้ำน้ำดื่มมาแจก


สรุป

บ้านรามราชเป็นหมู่บ้านที่มีประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวเนื่องกับประเทศลาวเนื่องจากบรรพบุรุษเป็นชาวลาวที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ประเทศไทยไม่ใช่กลุ่มคนลาวที่ถูกกวาดต้อนมา  ประเพณีหลายอย่างจึงเกี่ยวข้องและมีวีฒนธรรมการดำรงชีวิตหลายอย่างที่คล้ายกับประเทศลาว  ทั้งการนส้รางวัด  การเลี้ยงหอ  การนับถือผีปู่ต  สำเนียงภาษาที่ใกล้เคียงกับประเทศลาวมาก
จากอดีตจนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน  ประเพณีที่ดีงามหลายอย่างถูกกลืนกลายมาเป็นวัฒนธรรมตามแบบอย่างไทย  ลูกหลานมีการรับเอาวัฒนธรรมของต่างชาติมาใช้ในการดำรงชีวิต  แต่จากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านรวมทั้งการพัฒนาจากภาครัฐนี้เองทำให้หมู่บ้านมีความเจริญขึ้นตลอดจนมีความปลอดภัยในชีวิตมากขึ้น  และการพัฒนาส่วนหนึ่งนี้ทำให้โรงเรียนเป็นที่ยอมรับในระดับทางราชการโดยมีการส่งนักเรียนเข้าแข่งขันในงานทักษะทางวิชาการด้วยความสำเร็จเล่านี้มาจากการร่วมมือของคนในชุมชนในการให้ความช่วยเหลือด้วยจึงเป็นความสัมพันธ์อันดีที่จะนำไปสู่การพัฒนาโรงเรียนให้มีความเจิญก้าวหน้า   ความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชนจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อโรงเรียนมีการเข้าหาชุมชน  ครูสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน  และชุมชนจะต้องเปิดโอกาสให้กับโรงเรียน  ตลอดจนมีเป้าหมายร่วมกันนั่นคือ  การพัฒนาลูกหลานในหมู่บ้านให้เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ













1 ความคิดเห็น:

  1. ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ทำรายงานส่งอาจารย์ ศึกษาเมื่อปี 2555

    ตอบลบ